วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ผวาวิกฤติหนี้ยุโรปทำรายได้ส่งออกวูบ

ติดตามข้อมูลข่าวสาร ได้ที่



ผวาวิกฤติหนี้ยุโรปทำรายได้ส่งออกวูบ


TMB Analytics กังวลปัญหาหนี้ยุโรป-ศก.สหรัฐ กดดันรายได้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องประดับ แนะประหยัดค่าใช้จ่าย-ตุนสภาพคล่อง

TMB Analytics หรือ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี รายงานว่า ผลจากอุทกภัยเมื่อปีกลาย จะทำให้อัตรากำไรของผู้ประกอบการหายไปถึงหนึ่งในสาม และอาจโดนซ้ำเติมต่อเนื่องจากการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรป
ในปี 2554 ผู้ประกอบการที่ถูกน้ำท่วมในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม มีจำนวนประมาณ 26,200 ราย ในพื้นที่ 22 จังหวัด แยกเป็นกลุ่มที่มีความสูญเสียทางธุรกิจไม่เกิน 2 เดือน 15,900 ราย และ เสียหายมากกว่า 2 เดือน 10,300 ราย โดยสามารถจำแนกผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบนี้เป็นธุรกิจขนาดเล็กสัดส่วนสูงถึงประมาณ 81% ขณะที่ขนาดกลางและขนาดใหญ่มีสัดส่วน 15% และ 4% ตามลำดับ

เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ 2 ส่วนหลักๆด้วยกันคือ ส่วนแรกเป็นภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจที่ยังเกิดขึ้นแม้จะไม่มีธุรกรรมค้าขายดำเนินไปได้เหมือนเดิม เช่น ค่าจ้างแรงงานและค่าโสหุ้ยบางอย่าง (overhead cost) ส่วนที่สองคือค่าเสียโอกาสในการทำกำไรที่ควรจะได้ยามทำธุรกิจได้ตามปกติ ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้นจากธุรกิจชะลอตัวหรือถึงหยุดชะงักในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี ทำให้อัตรากำไร (Profit margin) ของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้หายไปได้ถึงราวหนึ่งในสามจากระดับที่สามารถทำได้ในช่วงเวลาปกติ

โดยธุรกิจที่เสียอัตรากำไรมากที่สุดจากอุทกภัยปี 2554 คือ กลุ่มชิ้นส่วนพลาสติก 33.6% (มีจำนวนธุรกิจที่ถูกกระทบนานกว่า 2 เดือนประมาณ 26%) ส่วนภาคอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบรองลงมาคือ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อัตรากำไรหายไป 31.3% (มีจำนวนธุรกิจที่ถูกกระทบนานกว่า 2 เดือน ถึงประมาณ 57%) คาดว่าภาคการผลิตจะสามารถฟื้นตัวกลับมาดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเข้าสู่ระดับปกติเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดอุทกภัย ได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี โดยจะมีการเร่งตัวของของรายได้ของภาคธุรกิจจากการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมในภาคส่วนต่างๆ อาทิ การเร่งตอบสนองคำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่หายไปในช่วงอุทกภัย

ปี 2555 ยังเป็นปีที่ธุรกิจในบ้านเรายังหายใจไม่ทั่วท้อง เพราะสัญญาณของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะเป็นปัญหาที่ธุรกิจของไทยต้องเผชิญต่อไป เศรษฐกิจยุโรปที่เริ่มชะลอตัวตั้งแต่กลางปี 2554 จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจส่งออกและผู้ประกอบการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการส่งออก เนื่องจากการชะลอหรือหดตัวของเศรษฐกิจยุโรปอาจลามไปยังเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาผ่านสถาบันและตลาดการเงิน ซึ่งทั้งคู่ป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย

โดยธุรกิจที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อรายได้มากที่สุด เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องประดับ ที่มีการส่งออกไปในตลาดเหล่านี้เป็นสัดส่วนร้อยละ 29 ของยอดขาย รองลงมาเป็นกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน มีสัดส่วนร้อยละ 26.5 อาหาร มีสัดส่วนร้อยละ 25.2 และอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีสัดส่วนร้อยละ 20.7 ตามลำดับ

ดังนั้น ในปี 2555 กลุ่มธุรกิจดังกล่าวคงต้องเน้นกลยุทธ์การบริหารรายจ่ายให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะดำรงสภาพคล่องไว้เผื่อฉุกเฉิน จากความวุ่นวายทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้





ที่มา กรุงเทพธุรกิจ


ติดตามข้อมูลข่าวสาร ได้ที่


 
เลือก ลงทุนได้ตามชอบ กับฮั่วเซ่งเฮง ได้แล้ววันนี้ กับกองทุนรวมหลากหลาย บลจ. ชั้นนำ เรามีผู้เชียวชาญให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ โดยโปรโมชั่นจะเป็นไปตามเงื่อนไขของบลจ.ต่างๆ และสามารถซื้อขาย เพื่อเก็บคะแนนสะสมผ่านบัตรเครดิตได้ สนใจติดต่อ คุณเพชร 081 431 8949 หรือ 083 050 0766 อีเมล์ toucht@gmail.com

หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล และข้อมูลภาษีก่อนการตัดสินใจลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...