วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

เลี่ยง-หลีก-ระวัง-จังหวะ ปีแห่งความผันผวน

ติดตามข้อมูลข่าวสาร ได้ที่



เลี่ยง-หลีก-ระวัง-จังหวะ ปีแห่งความผันผวน


2012 เป็นสุดยอดปีแห่งความผันผวนอีกปีหนึ่ง ตามไปดูกันว่าคนในแวดวงการเงินการลงทุนแนะให้เลี่ยง หลบ ระวัง หรือจับจังหวะอย่างไรดี

2012 ถือว่าเป็นสุดยอดปีแห่งความผันผวนอีกปีหนึ่ง

ร้อยทั้งร้อย ไม่ว่าจะหันไปพูดคุยกับกูรูการเงิน นักเศรษฐศาสตร์ หรือเซียนลงทุนท่านไหน ไม่มีใครหลุดคำว่า"ง่าย"ออกจากปาก และความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ของทุกคนคือ ปีนี้เป็นปีที่ยากและผันผวนสุดๆ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฟันธงหรือพยากรณ์แบบเต็มเสียงว่าการลงทุนอะไรรุ่ง อะไรร่วง


ปีนี้จึงเป็นปีที่นักลงทุนอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องใช้ศิลปะ รู้หลบ เลี่ยง หลีก ระวัง และกะจังหวะเข้าออกให้แม่นยำ เพื่อให้การผิดพลาดบาดเจ็บเกิดขึ้นน้อยที่สุด

Fundamentals ฉบับนี้ตามไปเก็บความเห็นและข้อแนะนำจากคนในแวดวงการลงทุนหลายคน ว่าพวกเขามีมุมมองต่อการลงทุนอย่างไร

Oหลบตราสารหนี้ยุโรป-ลดบอนด์ยาว

"ดารบุษป์ ปภาพจน์" รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 2 บลจ.กรุงไทย ก่อนอื่นสิ่งที่อยากจะย้ำเตือนกับผู้ลงทุนคือ ไม่ควรทิ้งหลักการในการจัดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองในสัดส่วนที่ต่างกันไป และไม่ลืมที่จะต้องทำการปรับพอร์ตการลงทุน หรือเรียกว่า Rebalance ระหว่างสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พอร์ตการลงทุนไม่ได้รับผลกระทบที่มากเกินกว่าที่ตนเองจะรับได้หากเกิดวิกฤติที่ไม่คาดฝันขึ้น

ดารบุษป์บอกว่าสินทรัพย์ที่เผชิญความเสี่ยงค่อนข้างมากในส่วนของต่างประเทศในปีนี้นั้น น่าจะไม่พ้นตราสารหนี้ยุโรป ซึ่งนอกจากเป็นปัญหาที่หมักหมมมานานแล้ว การขาดความเป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหาของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปก็ยิ่งทำให้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนยิ่งตีบตันขึ้นไปอีก ดังนั้น แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลของหลายประเทศในกลุ่มนี้จะให้อัตราผลตอบแทนสูงมากเพื่อจูงใจให้เข้าไปลงทุนก็ตาม แต่อาจไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่ราคาตลาดของพันธบัตรเหล่านี้จะปรับลดลงไปได้อีกมาก

เนื่องจากนักลงทุนพยายามวิ่งเข้าหาสินทรัพย์ที่ดูแย่น้อยกว่า โดยเปรียบเทียบอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งกลายเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นสหรัฐในปีที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้กองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอยู่น้อยหลายกองทุนมีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างแย่ในปีที่แล้ว ซึ่งในปีนี้หากพิจารณาจากความเห็นของผู้จัดการกองทุนพันธบัตรรายใหญ่ของโลก ก็คาดว่าจะยังมีแรงกดดันด้านลบต่อพันธบัตรยุโรปอยู่ต่อไป

สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น มีแนวคิดที่ว่าอาจได้รับผลกระทบจากการลดการก่อหนี้ทั่วโลก และการแข็งตัวขึ้นของดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม การอัดฉีดสภาพคล่องขนานใหญ่ในยุโรป และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและกลุ่มประเทศยุโรปที่อาจทวีความรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งน้ำมันหลักของโลก ก็มีโอกาสที่จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากได้

ดังนั้น นักลงทุนควรรักษาสัดส่วนการลงทุนในลักษณะ Neutral Weighting ในสินทรัพย์ด้านโภคภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ทอง หรือสินค้าเกษตร เนื่องจากไม่มีใครรู้อนาคตแน่นอนจนพอจะฟันธงได้ว่าราคาของสินทรัพย์เหล่านี้จะเป็นไปในทิศทางใด

ส่วนการลงทุนในประเทศนั้น นักลงทุนอาจลดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เนื่องจากในอีกหลายปีจากนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องระดมทุนจำนวนมหาศาลเพื่อนำมาใช้ในโครงการฟื้นฟูประเทศ และป้องกันอุทกภัยอย่างครบวงจร ซึ่งจะเพิ่มปริมาณพันธบัตรจำนวนมหาศาลในตลาด และกดดันให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นให้มากเพียงพอที่จะจูงใจให้ผู้ลงทุนปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นได้ ดังนั้น การลงทุนในพันธบัตรระยะยาวในสัดส่วนที่สูงเกินไปอาจทำให้ผู้ลงทุนเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อจากนี้

Oเลี่ยงลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง

"สานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล" นักวิเคราะห์กองทุนรวม บมจ.หลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) มองว่าเริ่มต้นปีใหม่ปีมังกรทอง แต่อาจจะเป็นอีกปีที่การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ปัญหาหนี้ยุโรปยังน่าเป็นห่วง เรายังต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่าการแก้ปัญหาจะต้องใช้เวลา และไม่ง่ายเลยที่จะผ่านบททดสอบอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์หนี้ของประเทศที่มีปัญหาหนี้อย่าง อิตาลี หรือ สเปน, การดำเนินการให้ความช่วยเหลือและลดหนี้กรีซ ฯลฯ ทำให้การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในปีนี้มีโอกาสที่เราจะต้องเผชิญกับความผันผวน และความไม่แน่นอน


ดังนั้น หากมองในช่วงต้นปี 2012 แล้ว คิดว่าการลงทุนตอนนี้อาจจะยังไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนที่ลงทุนในภูมิภาคที่เป็นต้นกำเนิดของปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้ อย่างปัญหาหนี้ยุโรป แม้ว่าราคาหุ้นในยุโรปจะปรับลดลงมามาก และราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ แต่ด้วยระยะเวลาการแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความอดทน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจ จึงเป็นไปได้ยากที่จะเห็นตลาดหุ้น หรือกองทุนหุ้นที่ลงทุนในภูมิภาคนี้จะปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงได้


"เรายังกังวลต่อระบบการเงินของยุโรปที่อยู่บนความเสี่ยงว่าจะได้รับความเสียหายจากหนี้ยุโรป รวมถึงระบบการเงินของภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะสถาบันการเงินในสหรัฐ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมได้ ดังนั้นกองทุนที่เน้นลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน เป็นอีกกองทุนที่เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงในปี 2012 นี้"


อีกสินทรัพย์หนึ่งที่แม้ว่าตอนนี้ราคาจะปรับตัวขึ้นร้อนแรงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา แต่การปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะปรับตัวลดลงแรง นั่นคือ น้ำมัน โดยราคาน้ำมัน ยังคงยืนอยู่ใกล้ๆ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้วยความกังวลต่ออุปทานที่เกิดขึ้นจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางเมื่ออิหร่านขู่ที่จะปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันสำคัญ ทำให้เรากังวลว่าการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบในรอบนี้อาจไม่ยั่งยืน และราคาน้ำมันในระดับสูงนานๆ จะส่งผลลบย้อนกลับมากระทบเศรษฐกิจโลกในที่สุด ราคาน้ำมันที่ขึ้นมาอย่างไม่แข็งแกร่งแบบนี้ มีโอกาสปรับลงรุนแรงได้ทุกเมื่อ หากความตึงเครียดในตะวันออกกลางคลี่คลาย หรือมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา

"อย่างไรก็ตาม แม้ว่าระยะสั้นเรายังกังวล แต่หากมองกันให้ยาวขึ้นความผันผวนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ อาจเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่จะเก็บสะสมกองทุนที่น่าลงทุน"


Oลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงให้เข้าใจดีกว่าฝากเงิน

"อนุชา จิตสมเกษม" ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บลจ.ธนชาต ให้ทัศนะว่านักลงทุนที่คิดว่าการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เมื่อปีที่ผ่านมามีความผันผวนมากแล้ว บลจ.ธนชาต คาดกันว่าภาวะการลงทุนทั้งในและต่างประเทศในปีนี้จะผันผวนยิ่งกว่า เนื่องจากปัจจัยหลักที่จะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศหลักๆ ของโลกในปีนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งเกี่ยวข้องผูกพันกับการตัดสินใจของฝ่ายการเมืองเป็นหลัก ซึ่งนักลงทุนต่างก็ทราบดีว่าเป็นเรื่องที่คาดคะเนผลลัพธ์ได้ยากมาก

เมื่อมองภาพเศรษฐกิจโลกแบบกว้างๆ เราจะเห็นภาพของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่หลังจากผ่านวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มา ก็เริ่มมีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยตัวเลขอัตราการว่างงานลดลงแต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง ผลกำไรของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่งปรับตัวดีขึ้นมาก สะท้อนออกมาในดัชนีหุ้นของสหรัฐที่ปรับตัวขึ้นชัดเจนในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว ทางด้านกลุ่มประชาคมยุโรป (EU) จะเห็นภาพดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวแสดงอาการถดถอย รัฐบาลและสถาบันการเงินหลายแห่งในยุโรปเริ่มเจอปัญหาการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ต้นทุนในการระดมทุนสูงขึ้น ปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะจำนวนมหึมาจะได้รับแก้ไขอย่างไร เป็นสิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังจับตามอง และมีการคาดการณ์กันไปคนละทิศคนละทาง ส่วนประเทศจีน หลังจากที่เศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงติดกันหลายปี จนเกิดปัญหาฟองสบู่สินเชื่อและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นมาก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการชะลอความร้อนแรงเศรษฐกิจที่เข้มงวดขึ้นหลายอย่าง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัวลง จนนักวิเคราะห์บางสำนักกลัวประเทศจีนจะเกิดภาวะ Hard Landing หรือชะลอตัวมากเกินไป


บลจ.ธนชาต ประเมินว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงจาก 4% ในปีที่แล้ว เป็น 3.5% ในปีนี้ โดยสหรัฐน่าจะขยายตัวได้เกิน 2% เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวลงแต่ไม่รุนแรง ส่วนจีนจะชะลอการขยายตัวลงและไม่เกิด Hard Landing การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลง ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสำคัญของโลกจึงจะยังไม่เพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่จะลดลงในยุโรปและบางประเทศในเอเชีย สำหรับเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้เกิน 4.5% จากการฟื้นตัวหลังภาวะน้ำท่วมและการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายของรัฐ


หากมาดูว่าปัจจัยการเมืองมีผลกระทบต่อตลาดการลงทุนอย่างไรบ้าง ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด คือ การแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่ม EU ที่ประเทศสมาชิกทั้ง 26 ประเทศ จะต้องนำแนวทางที่ได้จากการประชุมผู้นำของกลุ่มไปแก้ไขกฎหมายของตัวเองเพื่อยอมให้มีควบคุมการขาดดุลงบประมาณของตนอย่างเคร่งครัด และยินยอมให้มีการนำมาตรการคว่ำบาตรมาใช้หากไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ซึ่งหมายความว่าแต่ละประเทศจะขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการคลังของตนไป และการที่ประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงๆ เช่น กรีซ โปรตุเกส อิตาลี และ สเปน จะต้องยินยอมตัดงบประมาณขนานใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง การตัดสินใจในประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ฝ่ายการเมืองจะต้องพิจารณา และในไตรมาสหนึ่งนี้ประเทศต่างๆ ในยุโรปมีภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระเป็นเงินถึงกว่าแสนห้าหมื่นล้านยูโร ทำให้การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องทำอย่างรวดเร็ว ซึ่งขัดกับกระบวนการทางการเมืองในยุโรป


ทางด้านสหรัฐการต่อรองเพื่อขยายอายุมาตรการลดภาษีเงินได้และการให้เงินช่วยเหลือการว่างงานต่อไปจากเดือนกุมภาพันธ์นี้ หรือการพิจารณาปรับลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐที่ล้มเหลวไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ก็เป็นอีกตัวอย่างของปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองได้เป็นอย่างดี

"ตลาดการลงทุนในปีนี้จึงถือว่าเป็นปีแห่งความผันผวน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องหลีกเลี่ยงทางเลือกในการลงทุนต่างๆ ทั้งหมด เพราะการถือเงินสดหรือเงินฝาก จะไม่ช่วยให้นักลงทุนมีผลตอบแทนที่ชนะเงินเฟ้อได้ การเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง โดยที่เราเข้าใจความเสี่ยงนั้นจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า"


ทั้งนี้ หากคุณเป็นนักลงทุนที่ชอบการแกว่งตัวของตลาดไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น ทองคำ น้ำมัน หรืออัตราแลกเปลี่ยน อาจมีโอกาสทำเงินได้จากการขึ้นลงของราคาที่ผันผวนไปตามข่าว ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มอียูมีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้ ค่าเงินอียูอาจแข็งขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจอ่อนตัวลง หรือหากจีนมีข้อมูลเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมาก แล้วตลาดมีการปรับตัวลงอาจมองเป็นจังหวะเข้าซื้อ เพราะรัฐบาลจีนคงต้องมีมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อพยุงเศรษฐกิจตามออกมา


Oระวังหุ้นยุโรป-ตราสารหนี้ ปท.พัฒนา

"ศรชัย สุเนต์ตา" รองกรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มจัดการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด มองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงสูง และคาดว่าจะชะลอตัว จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังมีความเสี่ยงสูง และนโยบายแก้ปัญหาระยะยาวมีความล่าช้า นอกจากรัฐบาลจะต้องลดรายจ่ายลงแล้ว ภาคการเงินยังต้องเพิ่มฐานเงินทุน และลดการปล่อยสินเชื่อ เพื่อรองรับการเกิดขาดทุนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่มีปัญหา โดยเฉพาะพันธบัตรของประเทศกรีซที่โอกาสจะไม่สามารถชำระหนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผลตอบแทนจากการลงทุนจะมีความผันผวนและคาดเดายาก โดยนักลงทุนจะต้องมีความระมัดระวังและศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบมากขึ้น


การลงทุนในตราสารทุนโลกจะมีความผันผวนสูงขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดหุ้นยุโรปที่นอกจากเศรษฐกิจอาจจะเข้าสู่สภาวะถดถอย และความเสี่ยงจากนโยบายแก้ปัญหาของภาครัฐที่อาจจะไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนมีสูงมาก ประกอบกับการต้องดำเนินตามแผนเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์อย่างจริงจังในช่วงครึ่งแรกของปี จะส่งผลให้มีแรงขายในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง


สำหรับตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นไทย แม้เศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวโดยเปรียบเทียบสูงกว่าเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว แต่คาดว่าผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการขายสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อเพิ่มทุนของธนาคาร จะส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนมากขึ้นเช่นเดียวกัน จากการมีเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 เป็นต้นมา


การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์จะมีความผันผวนสูงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรม และเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน เนื่องจากความต้องการใช้สินค้าดังกล่าวมีแนวโน้มปรับตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว


การลงทุนในตราสารหนี้โดยเฉพาะตราสารหนี้ประเทศพัฒนาแล้วมีโอกาสปรับตัวลดลง เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวลงมาสู่ระดับที่ต่ำมากจากความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจตั้งแต่ในช่วงปี 2554 ประกอบกับการมีปริมาณพันธบัตรที่จะครบกำหนดและต้องออกใหม่เพิ่มเติมจำนวนมากจากการใช้นโยบายขาดดุลทางการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง และยังมีโอกาสสูงที่ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศในยุโรป จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือเพิ่มเติมเนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่รัฐบาลต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากไม่ได้ถูกแก้ไข ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินปรับตัวขึ้น และผลตอบแทนจากการลงทุนโดยรวมปรับตัวลดลง

"แม้การลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวจะส่งผลให้ความเสี่ยงของการลงทุนโดยเฉพาะในสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวสูงขึ้น นักลงทุนอาจพิจารณาแนวทางการลงทุนในลักษณะควบคุมความเสี่ยง เช่น การจัดสำรับการลงทุน ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนโดยเน้นการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท ไม่กระจุกตัวอยู่กับสินทรัพย์เพียงไม่กี่ประเภทเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวมและสามารถให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาวได้ จากการมีผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทอื่นๆ มาชดเชยการลงทุนบางประเภทที่ให้ผลตอบแทนไม่ดี"


กล่าวโดยสรุป ปีนี้ทั้งปี แทนที่จะต้องอัพเดทภาพรวมการลงทุน



ที่มา กรุงเทพธุรกิจ http://bit.ly/Alb0dP


ติดตามข้อมูลข่าวสาร ได้ที่


 
เลือก ลงทุนได้ตามชอบ กับฮั่วเซ่งเฮง ได้แล้ววันนี้ กับกองทุนรวมหลากหลาย บลจ. ชั้นนำ เรามีผู้เชียวชาญให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ โดยโปรโมชั่นจะเป็นไปตามเงื่อนไขของบลจ.ต่างๆ และสามารถซื้อขาย เพื่อเก็บคะแนนสะสมผ่านบัตรเครดิตได้ สนใจติดต่อ คุณเพชร 081 431 8949 หรือ 083 050 0766 อีเมล์ toucht@gmail.com

หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล และข้อมูลภาษีก่อนการตัดสินใจลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...